Credit: Nikada/iStock by Getty Images

เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ครอบคลุมและทำพร้อมกันในหลายด้าน

การผสมผสานการปรับโครงสร้างใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การกำกับดูแล ปัจจัยภายนอกและกฎระเบียบทางธุรกิจจะสามารถเพิ่มระดับผลผลิตได้ร้อยละ 3.0 ในสี่ปี

เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสามเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางการบูรณาการระดับโลกและการกำหนดนโยบายที่รอบคอบ ปัจจุบันเวียดนามมีรายได้สูงกว่าในปี 2543 ถึง 11 เท่า การสร้างฐานรายได้ดังกล่าวเพื่อปิดช่องว่างระหว่างภูมิภาคกับประเทศที่มีรายได้สูงนั้นเป็นสิ่งที่หลายประเทศมุ่งมั่นเพื่อที่จะให้หลุดพ้นจากสิ่งที่เรียกว่ากับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องท้าทายหากแต่สามารถทำให้สำเร็จได้

การผสมผสานการปรับปรุงใหม่ด้านโครงสร้างที่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมุ่งมั่นจะช่วยให้เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของภูมิภาคบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงขึ้นพร้อมทั้งก้าวสู่ประเทศรายได้สูงอย่างยั่งยืนได้ การปฏิรูปด้านโครงสร้างที่ครอบคลุมและทำพร้อมกันในหลายด้านจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการรองรับแรงกระแทกเมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนและช่วยให้ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนการเติบโตได้

การวิจัยศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยรวมที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกกฎระเบียบ การกำกับดูแล ไปจนถึงการศึกษานั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การวิจัยศึกษาของเราเกี่ยวกับกำไรจากผลผลิตที่ได้จากการปฏิรูปโครงสร้างในเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ชี้ให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ 5 เศรษฐกิจ (ASEAN Emerging Markets) ที่ใหญ่ที่สุดจาก 10 เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นสามารถเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในระยะยาวได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ถึง 2.0 หลังจากสองปี และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3 หลังจากสี่ปีภายหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยรวมแบบครอบคลุมและดำเนินไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปมักจะเกี่ยวข้องกับความท้าทายทางเศรษฐกิจการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ความพยายามในการสร้างฉันทามติระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญมีความจำเป็นเพื่อรองรับแนวทางดังกล่าวและช่วยให้สามารถส่งมอบผลกำไรที่ยั่งยืนได้

หกประเทศ สี่ปัจจัย

บทวิเคราะห์ของเรามีเป้าหมายเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญห้าอันดับแรกของอาเซียน (ASEAN-5) บรรลุเป้าหมายในการสร้างระดับรายได้ ดั่งเช่นประเทศสิงคโปร์ภายในสองถึงสามทศวรรษข้างหน้า

เรามุ่งเน้นการประเมินของเราไปที่ปัจจัยสี่ประการ ได้แก่ การเปิดกว้างทางการค้าและเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขการลงทุนและ การกำกับดูแล และการพัฒนาบุคลากร ปัจจัยเหล่านี้คือส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักแบบกว้างที่จะต้องดำเนินการแก้ไข อย่างไรก็ตามข้อแนะนำนี้จะแตกต่างกันไปในบริบทของแต่ละประเทศ

  • แม้ว่าเศรษฐกิจหลักทั้งหกของอาเซียนจะเปิดกว้างมากกว่าตลาดเกิดใหม่โดยเฉลี่ยในกลุ่ม G20 ประเทศเหล่านี้ยังคงมีอุปสรรคทางการค้ามากกว่าและค้าขายได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ในระดับมัธยฐานของ OECD เมื่อวัดด้วยดัชนีวัดประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกทางการค้า การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนรวดเร็วขึ้น ราคาถูกลง และมีความไม่แน่นอนลดลง จะช่วยให้ ASEAN-5 สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ตามที่ได้มีการปรึกษาหารือกันในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเราในเดือนตุลาคม 2567 นั้น การแก้ไขปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า จะช่วยให้เกิดผลกำไรจากการแข่งขันและการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีได้อย่างสูงสุด พร้อมไปกับการสร้างงานที่มีคุณภาพสูง การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นการบริการมากขึ้นโดยตลาดเกิดใหม่ไม่ได้หมายความว่าขอบเขตในการไล่ให้ทันตามระดับรายได้ของเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะลดลง เนื่องจากการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ การบริการที่มีผลิตภาพสูง

  • เศรษฐกิจหลักของอาเซียนโดยทั่วไปมีความหลากหลายดี แม้ว่าจะมีระดับความซับซ้อนทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน (รองจากสิงคโปร์ที่มีระดับความซับซ้อนทางเศรษฐกิจสูงสุด) ทว่าบรรดาประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มล่างของสเปกตรัมนี้มักจะมีระดับการศึกษาและผลิตภาพของแรงงานที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกัน การใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่เพิ่มมากขึ้นและตรงจุดมากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ และการจับคู่ทักษะกับงานที่เหมาะสมขึ้นจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาผลิตภาพและก้าวขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้นสำหรับเศรษฐกิจโดยรวม (แทนที่จะยังคงอยู่ในภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ)

  • ในแง่ของความน่าดึงดูดใจในการลงทุน ค่ามัธยฐานของตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของอาเซียนมักจะตามหลังค่ามัธยฐานของ OECD ในด้านมาตรการการกำกับดูแล เช่น ประสิทธิภาพของรัฐบาลและคุณภาพของกฎระเบียบ อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ยังคงนำหน้าเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่โดยเฉลี่ยในกลุ่ม G20 ในด้านนี้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนมักจะแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่อ่อนแอกว่าและมีกฎระเบียบทางธุรกิจที่สูงกว่า (ยกเว้นสิงคโปร์) สุดท้ายนี้แม้ว่าสินเชื่อในประเทศจะมีค่อนข้างมากในเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของอาเซียน แต่การเข้าถึงบริการทางการเงินยังคงไม่เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตในวงกว้าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากสัดส่วนของประชากรจำนวนน้อยที่มีบัญชีธนาคารในบางประเทศ การเสริมสร้างการกำกับดูแลและความพยายามในการต่อต้านการทุจริต ตลอดจนคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนความรับผิดชอบและความแน่นอนทางธุรกิจเช่นกัน อีกทั้งยังอาจเป็นการเพิ่มการลงทุนได้ด้วย

  • ในด้านการพัฒนาบุคลากร เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของอาเซียนทุกแห่งมีข้อได้เปรียบด้านประชากรเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โดยทั่วไปแล้วประเทศเหล่านี้จะมีประชากรที่ทำงานมากกว่าประชากรผู้ที่ต้องพึ่งพิง (เช่น เด็กและผู้สูงอายุ) ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะดำเนินการปฏิรูปได้ทันทีในเวลานี้ก่อนที่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มภาระทางการเงิน เช่น เงินบำนาญและ การดูแลสุขภาพ และอีกประเด็นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วประเทศเหล่านี้มีความเหลื่อมล้ำกันมากกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD และมีอายุขัย สุขภาพของประชากรและมาตรฐานการครองชีพที่ต่ำกว่า นอกจากนี้การจ้างงานนอกระบบแพร่หลายมากกว่าด้วยเช่นกัน การปิดช่องว่างเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นได้ดีขึ้น

การปฏิรูปเพื่อจัดลำดับความสำคัญ

บรรดาประเทศอาเซียนควรเน้นด้านโครงสร้างใดบ้างเพื่อกระตุ้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม?

จากการวิเคราะห์ในเอกสารประเด็นที่เราคัดเลือกในปี 2567 เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์ เราพบว่าการปฏิรูปโดยรวมนั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้แนวทางแบบค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ การปฏิรูปที่ครอบคลุมแบบครบวงจรและทำพร้อมกันในหลายด้านที่ปรับปรุงกฎระเบียบทางธุรกิจและปัจจัยภายนอก การกำกับดูแล และการพัฒนาบุคลากรจะสามารถเพิ่มระดับผลผลิตได้มากถึงร้อยละ 3.0 หลังจากสี่ปี ในขณะที่ประโยชน์จากการประกาศใช้การปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่เพียงด้านครั้งเดียวนั้นจะมีไม่มากนัก

ผลลัพธ์นี้เน้นย้ำให้เห็นว่าการปฏิรูปโครงสร้างแบบครบวงจรที่ไตร่ตรองรอบคอบและมุ่งมั่นจะช่วยให้เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญของอาเซียน สามารถบรรลุการเติบโตที่มีศักยภาพสูงขึ้น อีกทั้งทำให้ตระหนักได้ถึงวิสัยทัศน์ของประเทศเหล่านั้นในการบรรลุระดับรายได้สูงได้อย่างยั่งยืน การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจแบบครอบคลุม ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น จะช่วยสร้างความสามารถในการทนต่อหรือฟื้นตัวจากความยากลำบากได้อย่างรวดเร็ว พร้อมไปกับการส่งเสริมการเติบโตที่หลากหลาย กว้างขวางและครอบคลุมของประเทศ ทั้งนี้ ยังเป็นการรับประกันกรอบการทำงานของสถาบันที่น่าเชื่อถือและแข็งแกร่งเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนการเติบโตต่อไป ท่ามกลางสภาพแวดล้อมระดับโลกที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแรงกระแทก

,